บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
(เวลา 08.30 น. - 11.30 น.)
ความรู้ที่ได้รับ
โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลและสถานีอนามัย
โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
โครงารพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการหนังสือเล่มแรก (ฺBook start Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนัรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน”
โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
- ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
- ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
- ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
- สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
- ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
- เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
- ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ
“พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เป้าหมายคือการให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญ
2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ อาจจะมีประชาสัมพันธ์ หรือบุคคลที่เป็นญาติบอกต่อ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 1. พัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน เช่น เล่นกิจกรรมกลางแจ้ง
2. เรื่องการดูแล/สุขนิสัย เช่น เรื่องของการกิน
3. การปลูกฝังจริยธรรม เช่น นิทานเกี่ยวกับคุณรรม
4. การเสริมแรง/จูงใจเด็ก เช่น ชมหรือให้รางวัล
5. ให้อยู่กับครอบครัว
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เมื่อผู้ปกครองมีความรู้/ความเข้าใจมากผู้ปกครองก็จะนำความรู้ที่มีไปปรับใช้กับลูกหรือบุคคลใกล้ตัวทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่ดีขึ้น
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ แบบประเมิน เพราะจะได้รู้ถึงความคืบหน้าและจะได้ปรับปรุงในส่วนที่ขาดหาย
ประยุกต์ เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปอกต่อกับผู้ปกครองได้ เพื่อให้พฤติกรรมลูกปรับมาดีขึ้นกว่าเดิม
ประเมิน ตนเอง
ตั้งใจเรียนและสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียนและจดบันทึก
ประเมินอาจารย์ มีการสอนที่หลากหลายและเป็นกันเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น