วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
(เวลา 08.30 น. - 11.30 น.)


ความรู้ที่ได้รับ

โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลและสถานีอนามัย
      โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
    - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
    - วิธีการสนทนากลุ่ม
    - วิธีอภิปรายกลุ่ม
    - วิธีการบรรยาย  
 โครงารพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ประกอบด้วย
    - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
    - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
    - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
    - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการหนังสือเล่มแรก (ฺBook start Thailand)
            โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนัรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” 

โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
            ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
         โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
             เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
         โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
         - เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
         - ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
         - ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
         - เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา 
            โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 
            มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
         - ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
         - ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
         - สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
          - ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ

      โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)

        โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    - สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
    - เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
    - ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ

      โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
          เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก

โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ

     “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”


โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)

โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ

คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ  เป้าหมายคือการให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญ 

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ อาจจะมีประชาสัมพันธ์ หรือบุคคลที่เป็นญาติบอกต่อ 
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  1. พัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน เช่น เล่นกิจกรรมกลางแจ้ง
         2. เรื่องการดูแล/สุขนิสัย เช่น เรื่องของการกิน
         3. การปลูกฝังจริยธรรม เช่น นิทานเกี่ยวกับคุณรรม
         4. การเสริมแรง/จูงใจเด็ก เช่น ชมหรือให้รางวัล
         5. ให้อยู่กับครอบครัว
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  เมื่อผู้ปกครองมีความรู้/ความเข้าใจมากผู้ปกครองก็จะนำความรู้ที่มีไปปรับใช้กับลูกหรือบุคคลใกล้ตัวทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่ดีขึ้น
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ แบบประเมิน เพราะจะได้รู้ถึงความคืบหน้าและจะได้ปรับปรุงในส่วนที่ขาดหาย

ประยุกต์ เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปอกต่อกับผู้ปกครองได้ เพื่อให้พฤติกรรมลูกปรับมาดีขึ้นกว่าเดิม
ประเมิน ตนเอง
ตั้งใจเรียนและสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียนและจดบันทึก
ประเมินอาจารย์ มีการสอนที่หลากหลายและเป็นกันเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2559
เวลา 08.30-11.30
ความรู้ที่ได้รับ

 อาจารย์ให้เล่นเกมที่ส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร
 -เกมสื่อความหมาย
 -เกมทายคำ
 -พรายกระซิบ
 -เกมใคร ทำอะไร ที่ไหน เวลาใด อย่างไร กับใคร





ความหมายของการสื่อสารคือ   กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับ

ความหมายของการสื่อสาร
ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ในสังคม
ทำให้เข้าใจทั้ง สอง ฝ่าย
ทำให้สร้างมิตรภาพความเข้าใจตรงกัน
ทำให้เกิดความพึ่งพอใจ


รูปแบบของการสื่อสาร











องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร
2. ข้อมูลข่าวสาร
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร
4. ผู้รับข่าวสาร
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
สื่อ การนำเสนอในรูปแบบของ รูปภาพ หรือ เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ
สาร เรื่องราวที่รับรู้ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ การล้อเลียนซึ่งมนุษย์จะแสดงออกมา

ประเภทของการสื่อสาร
จำแนกที่สำคัญ   3 ประการ คือ
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
     -การสื่อสารทางเดียว    เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
     -การสื่อสารสองทาง     เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
     -การสื่อสารเชิงวัจนะ     การสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร
     -การสื่อสารเชิงอวัจนะ   ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
     -การสื่อสารส่วนบุคคล 
     -การสื่อสารระหว่างบุคคล 
     -การสื่อสารมวลชน 

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
-ความพร้อม 
-ความต้องการ
-อารมณ์และการปรับตัว 
-การจูงใจ 
-การเสริมแรง 
-ทัศนคติและความสนใจ 
-ความถนัด 

7 c กับการสื่อสารที่ดี

•Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ•Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง•Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ•Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม•Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด•Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง



คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การส่งสาร ข้อมูล จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  ผู้ปกครองรู้ความเป็นไปของลูก ทำให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจตรงกันทั้งในเรื่องการเรียนสอน พฤติกรรมและพัฒนาการของลูก

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารต้องเป็นรูปแบบที่ครูสามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน เช่น รูปแบบของอริสโตเติล
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ   ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
         •ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
         •ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
         •การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
         •การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
         •ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
         • การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ -ความพร้อม 
        -ความต้องการ
        -อารมณ์และการปรับตัว 
        -การจูงใจ 
        -การเสริมแรง 
        -ทัศนคติและความสนใจ 
        -ความถนัด 

ประเมินผล 
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์  อาจารย์เตรียมเนื้อหามาสอนดี